วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555



โครงการออกแบบสื่อแอนิเมชั่นเพื่อเป็นสื่อเสริมความรู้ทางเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพกพา  (Teblet) สำหรับเด็กประถม เรื่อง “วัฏจักรของนำ้”


วิชา ARTI3322 การออกแบบภาพเคลื่อนไหว

โดย วีนัส อำ่สุ่น รหัส 5221307662

ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูล ส1(Research)
Animation Types


ประเภทพื้นฐานของการเคลื่อนไหว

ภาพเคลื่อนไหว คือ ความต่อเนื่องของการมองเห็น รวมกับการทำให้วัตถุมีการ เคลื่อนที่ ที่ความเร็วระดับหนึ่งจนตาคนเรามองเห็นว่าวัตถุนั้นมีการเคลื่อนไหว เช่น การหมุน ภาพที่ แตกต่าง กันไป ในระดับความเร็วที่เหมาะสมจะมองเห็นว่าภาพนั้นเกิดการเคลื่อนไหว
ประเภทพื้นฐานของการเคลื่อนไหวหลักที่สำคัญมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ Cel Animation, Stop Animation และ Computer Animation


พื้นฐานของการเคลื่อนไหว

มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ

1 Cel Animation แอนิเมชั่นเงา.

เป็นวิธีแบบดั้งเดิมของภาพเคลื่อนไหวที่อยู่ในแบบของภาพวาดด้วยมือเป็นเทคนิคที่ ใช้ในการสร้างภาพยนต์การ์ตูนในสมยก่อน  ที่ตองอาศัยฝีมือและความสามารถของผู้ชํานาญ  ตั้งแต่การออกแบบเนื้อเรื่อง การสเก็ตตัวการ์ตูนและสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวโดยในกระบวน
การของการเคลื่อนไหวแบบ Cel นี้ ภาพต่างๆที่ถูกวาดลงบนแผ่นโปร่งใส ต้องวาดหลายครั้ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ในการ แสดงถึงลักษณะการกระทำบางอย่าง
คําวา Cel มาจากคำว่า Celluloid ซึ่งเป็นแผ่นใสที่ใช้สําหรับวาดภาพแต่ละเฟรม แต่ในปัจจุบัน เปลี่ยนมาใช้แผ่นพลาสติก (Acetate) แทนแล้ว เทคนิคการสร้าง ภาพแบบนี้ จะเป็นการเขียนภาพทีละภาพบนแผ่นเซล แล้วนำมาแสดงด้วยความเร็วระดับเฟรมต่อวินาที

2. Stop Animation หรือ ClayAnimation แอนิเมชั่นแบบหยุดการเคลื่อนไหว
คิดค้นในปี ค.ศ. 1897 และหนึ่งในภาพยนต์ที่ได้รับความนิยมมากคือ Gumby งานแอนิเมชั่นประเภทนี้ animator จะต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับโมเดล และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรม การทำ Stop Motion ถือเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะต้องแม่นในเรื่องของTiming และ Pose มากๆ แม้การทำจะไม่ต้องอาศัยการวาด รูปเป็นหลัก แต่ก็ต้องทำ IB เองท้ังหมดด้วยมือ การทำ IB ในงาน Animation ประเภทน้ี ต้องอาศัยความชำนาญในการคำนวนล่วงหน้า เพราถึงแม้จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการ  Flip แล้วก็ตามเช่น โปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยในการ Capture รูปแล้ว Play ดูได้ทันทีแต่การ จัดแสงและการควบคุมความต่อเนื่องระหว่างเฟรม  ต้องอาศัยความรอบคอบและความอดทน สูงมาก บางทีทำกันหลายวันหลายคนไม่ได้พักเลยก็ม็ี ดังนั้น Animator ของงานประเภทน้ี นอกจากจะต้องมีความชำนาญแล้ว ควรจะมีสุขภาพแข็งแรงด้วย

3. Computer Animation คอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น
เป็นงานแอนิเมชั่นที่พบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เน่ืองจากการเข้าถึงโปรแกรมเป็นไป ได้ง่าย และการนำหลักการแบบ 2D และ 3D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรมทําให้เข้าใจ ได้ง่ายแถมยัง สะดวกในการแก้ไขและแสดงผลจึงเป็นที่นิยมกันมาก
ภาพเคลื่อนไหวคอมพิวเตอร์เริ่มประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ถูกสร้างขึ้นโดย บริษัท General Motors และ IBM จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดูรูปแบบ 3 มิติของรถและ เปลี่ยนมุมการหมุน
นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานในแบบต่างๆ เช่นในการ แสดงของเซาท์พาร์ก'South Park' และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ผลงานการทำ ภาพเคลื่อนไหวคอมพิวเตอร์ ที่รู้จักกันในปัจจุบันของบริษัท Pixar amimation แอนิเมชั่น คอมพิวเตอร์ของพิกซาร์ พวกเขาเป็นที่รู้จักในการทำหนัง Toy Story, A Bug’s Lift, Monsters Inc,Finding Nemo, และอื่น ๆ นอกจากนี้วิดีโอเกมได้ใช้คอมพิวเตอร์ แอนิเมชันเช่นกัน
Animation 2D ภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ
โปรแกรมที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ Macromedia Flash แม้ว่าคุณลักษณะคล้ายกับการเคลื่อนไหว Cel ภาพเคลื่อนไหว 2 มิติได้กลายเป็น ที่นิยมเนื่องจากใช้ง่ายของภาพวาดที่สแกนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับในภาพยนตร์การ์ตูน
Animation 3D ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ
วิธีการสร้างนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องอาศัยการคำนวณและการ เปลี่ยนแปลงค่าตัวเลขในขณะคํานวณ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น การหมุนลักษณะของพื้นผิวและรูปทรง รวมทั้งทิศทางของแสง ความหนาแนนของวัตถุ
แอนิเมชั่ 3D มักถูกใช้ในภาพยนตร์ เป็นงานแอนิเมชั่นที่มักพบกันได้บ่อยในปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงโปรแกรมเป็นไปได้ง่าย และการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสาน กับตัวโปรแกรม ทำให้เข้าใจได้ง่ายแถมยังสะดวกในการแก้ไข และแสดงผลจึงเป็นที่นิยมมาก
Animator ในงานประเภทนี้ จึงมีเกิดขึ้นมาในยุคปัจจุบันอย่างมากมาย พร้อมด้วย
ความต้องการ ของวงการบันเทิงในยุคนี้ ที่เน้นการทำ CG Animation มากขึ้น ดูได้จาก
เมืองไทย ที่มีสถาบันสอนการทำ Animation เกิดขึ้นอย่างมากมาย และ Studio ที่ทำงาน Animation ในบ้านเราก็มีมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า งานต่างๆในวงการบันเทิงไทย ไม่ว่าจะ เป็นภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา การ์ตูนซีรี่ย์ ต่างๆ ล้วนล้วนแต่ มีงาน CG Animation แฝงอยู่ด้วยแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า เมืองไทยตอนนี้ มีความตื่นตัวในกระแส Animation เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
สรุปบทความจากเว๊บไซต์ : https://sites.google.com/site/arti3322/animation-types
http://www.buzzle.com/articles/basic-types-of-animation.html
http://hhs.hilmar.k12.ca.us/Departments/FineArts/Animation/Types%20of%20Animation.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Animation
http://hhs.hilmar.k12.ca.us/Departments/FineArts/Animation/Types%20of%20Animation.htm

การเตรียมภาพสำหรับภาพเคลื่อนไหว

ปัจจุบันการเตรียมภาพจะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลของกล้องวิดีโอ ร่วมกับเทคนิคการ    สร้างภาพเคลื่อนไหว โดยจัดเก็บภาพลงบนแผ่นฟิลม์แล้วใช้เครื่องมือ หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่สามารถทําหนาที่จัดการเก็บข้อมูล และแสดงผลภาพต่อเนื่องว่าตรงตามความต้องการหรือ ไม่ เชน Premiere, AfterEffect, Jasc Animation Shopและ Director

รูปแบบของไฟล์เคลื่อนไหว

ซอฟต์แวร์สําหรับเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว

1.FlashPlayer
สร้างภาพมัลติมีเดียที่ทําให้ browser รู้จักกับไฟล์ได้ Flash สร้างงานทางด้าน
สื่อที่หลากหลายทั้งภาพและเสียง เช่น สร้างภาพกราฟิก สร้างภาพเคลื่อนไหวให้กับงาน และสร้าง interactive ให้สามารถโต้ตอบไ้ด  
2.Shockwave
เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวเสียง รวมทั้งสามารถโต้ ั้ ตอบกับผู้ใช้ได้
3.Macromedia Director
เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างไฟล์ ข้อมูลสำหรับเล่นกับ plug-in ได้
4.TrueSpace
สร้างรูปทรง 3 มิติสามารถใช้สร้างรูปมนุษย์ใบหน้า อารมณ์ต่าง ๆและการวาดรูปทรง
เรขาคณิตได้
5.Easy GIF Animation
ช่วยทําภาพ GIF Animation และกำหนดรายละเอียดของภาพในแต่ละเฟรมได้
6.Cad4
โปรแกรมสำหรับงานออกแบบภายใน เช่นอาคาร บ้านเรือน โรงงาน เป็นต้น
7.SWISH
โปรแกรมสร้างเว๊บเพจในรูปแบบ interactive เช่นเดียวกับ Flash
8.Xara X
เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้าง Vector graphic
9.3D Canvas
เป็นโปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติแบบ real time
10.Moho
โปรแกรมสร้างการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบ 2 มิติ
11.Maya
เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างงานภาพยนต์ animation




เสียง (Sound)


เสียงที่ได้ยินเกิดจากการเดินทางของเสียงผ่านตัวกลางทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นเสียง (waveform) และแสดงออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยจะเปลี่ยนขนาด ี่ (amplitude)หรือความถี่ (frequency) ของการสันสะเทือนตามระยะเวลา

การวัดระดับของคลื่นเสียง

มีหน่วยวัดที่เกี่ยวข้อง 2 หน่วยคือ
1.เดซิเบล (Decibel)
เป็นหน่วยวัดความดังของเสียง
2.เฮิรตซ (Hertz)
เป็นหน่วยวัดจำนวนรอบการแกว่งของคลื่นเสียงในหนึ่งวินาทีคือใช้วัดความถี่ของเสียง   

ระดับความดังและชนิดของเสียง

ประเภทของเสียง

แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ MIDI และ digital

เสียงแบบ MIDI (Musical Instrumental Digital Interface)

- ข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะเสียง ที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ
- ใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
- ไม่เหมือนเสียงจากเครื่องดนตรีจริง ๆ
- เครื่องมือในการเล่นเพลงมีผลต่อคุณภาพของเสียงที่ได้

มาตรฐานของMIDI ที่กําหนดให้โปรแกรมสร้างเสียง

- รูปแบบของเสียงภายในระบบต้องมีลักษณะเหมือนกัน เช่น เสียง Bassoon ที่ระดับเสียง 70 โปรแกรมสําหรับสร้างเสียงกจะต้องสร้างเสียง Bassoon และปรับไปที่ ระดับ 70 ได้
- จะต้องเล่นเสียงแบบ polyphony อย่างน้อย 24 ตัวโน๊ต และสามารถกำหนด เสียงได้ 16 ช่องเสียงอย่างต่อเนื่อง
- จะต้องเตรียมเสียงจากอุปกรณ์พิเศษ และเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ซึ่งเสียง ของเครื่องดนตรีจะมีระดับเสียงระหว่างช่องที่ 1-9 และเสียงของอุปกรณ์พิเศษจะมีระดับเสียง อยู่ในช่องที่ 10

มาตรฐานของ MIDI Channel และ polyphony


ขอดของไฟล์  MIDI

ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็กและไมต้องใช้เครื่องดนตรีจริง ๆ ใช้หน่วยความจำน้อย เหมาะสำหรับระบบเครือข่ายและง่ายต่อการแก้ไขปรับปรุง

ขอเสียของไฟล์ MIDI

แสดงผลเฉพาะดนตรีบรรเลงและเสียงที่เกิดจากโน๊ตดนตรีเท่านั้นและอปกรณ์ ุ อิเลกทรอนิกส์ที่ใช้สร้างมีราคาค่อนข้างสูง

เสียงแบบดิจิตอล (digital audio)

- สัญญาณเสียงที่ส่งมาจากไมโครโฟนเครื่องสังเคราะห์เสียงเครื่องเล่นเทป หรือจาก แหล่งกําเนิดเสียงต่าง ๆ ทั้งจากธรรมชาติและที่สร้างขึ้น
- แปลงสัญญาณข้อมูลที่ได้เป็นดิจิตอล
- ข้อมูลจะถูกสู่มให้อยูในรูปแบบของ บิต และไบต์ โดยเรียกอัตราการสุมนี้ว่า Sampling rate
- จํานวนข้อมูลที่ได้เรียกว่า Sampling size
- คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับ sampling rate และ sampling size (หน่วยเป็นบิต)

คุณภาพของเสียงแบบดิจิตอล

เสียงที่พบบ่อยจะมีช่วงความถี่ 44.1 kHz, 22.05 kHz และ 11.025 kHz ซึ่งมี samplingsize เป็น 8 บิตและ 16 บิตโดยทั่วไป sampling rate และ samplingsize ที่สูงกว่าจะส่งผลให้คุณภาพของเสียงดีกว่าและจะต้องมีเนี้อที่ บนฮาร์ดดิสก์ สําหรับรองรับอย่างเหมาะสม

ลักษณะของการนำเสียงแบบดิจิตอลไปใช้งาน

การคำนวณขนาดของไฟล์เสียง

เสียง monophonic

sample rate*duration of recording in seconds*
                                              (bit resolution/8)*1
เช่น เสียงที่ระดับความถี่ 22.05 kHz   ี่
ความละเอียด 8 บิต บันทึกยาว 10 วินาที
จะมีขนาดไฟล์  = 22050*10*(8/8)*1   ไบต์
                                     = 220,500 ไบต์
                                     = 0.2205 MB
                                        (220,500/1,000,000)
เสียง stereo
sample rate*duration of recording in seconds*
                                                        (bit resolution/8)*2
เช่น เสียงที่ระดับความถี่ 22.05 kHz   ี่                                                          
ความละเอียด 8 บิต บันทึกยาว 10 วินาที
จะมีขนาดไฟล์  = 22050*10*(8/8)*2   ไบต์
= 441,000 ไบต์
= 0.441 MB

ขนาดของไฟล์สําหรับเสียงแบบดิจิตอลในเวลา1 นาที


ข้อดีของเสียงแบบดิจิตอล

สามารถแสดงผลเสียงได้หลากหลายและเป็นธรรมชาติกว่า MIDI มาก

ขอเสียของเสียงแบบดิจิตอล

จะมีขนาดของข้อมูลใหญ่ทําให้ต้องใช้หน่วยความจำและทรัพยากรบนหน่วย ประมวลผลกลางมากกว่า MIDI

การบันทึกข้อมูลเสียง

เป็นการนำเสียงจากการพูดการเล่นเครื่องดนตรีหรือจากแหล่งเสียงต่าง ๆ มาจัดเก็บลงในไฟล์เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
- synthesize sound
เกิดจากตัววิเคราะห์เสียงโดยจะต้องมี synthesize chip หรือ wavetable เพื่อทำการแยกเสียงว่าเป็นเสียงดนตรีชนิดใด
- sound data
เป็นการแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล โดยจะเป็นการบันทึกคลื่นเสียง

การบีบอัดไฟล์เสียง

• MPEG-1 เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลเสียงที่มีอัตราการบีบอัดข้อมูลประมาณ 10:1 โดยรูปแบบที่ได้จะเป็น Mp3 (MPEG 1 Audio Layer 3)  
• MACE ใช้ได้เฉพาะกับ Macintosh เท่านั้นอัตราการบีบอัดคือ 3:1 หรือ 6:1 ทําได้เฉพาะกับข้อมูล 8 บิต
• μ-Law, A-Law สามารถบีบอัดข้อมูล 16 บิตได้ในอัตรา 2:1
• ADPCM (Adaptive Differential Pulse CodeModulation) บีบอัดข้อมูล 8 หรือ 16 บิต ในอัตรา 4:1 หรือ 2:1

รูปแบบของไฟล์เสียง

• สําหรับ Macintosh จะมี 2 แบบคือ แฟ้มข้อมูลเดี่ยว (.AIFF, .SDII)และจัดเก็บ
แบบแยกส่วนสําหรับใช้งานร่วมกัน (.SND)
• MPEG เป็นไฟล์เสียงที่พัฒนามาจากมาตรฐานภาพเคลื่อนไหว
• ไฟล์ .wav มีการใช้งานส่วนมากอยู่บนระบบเครือข่ายรูปแบบข้อมูลเสียงที่นิยมใช้ นามสกุลชนิดของไฟล์ รูปแบบ OS  โปรแกรมที่ใช้

ซอฟต์แวร์สําหรับเทคโนโลยีเสียง

- Winamp
ใชเล่นเพลง  mp2  mp3 พร้อมสามารถแก้ไขเสียงได้
- AmazingMIDI
โปรแกรมสำหรับแปลง wave file เป็นMIDI file
- Audiograbber
สามารถใช้เล่นและบันทึกเสียงเป็น mp3Cakewalk Lesson
ใช้โปรแกรมที่ใช้งานทางด้านดนตรีสามารถใช้ช่วยในการแต่งเพลง  และบันทึกในรปแบบ
MIDI หรือ .wrk
- Cool Edit
สามารถลดเสียงรบกวนและปรับแต่ง wave file ได้
- Windows Media Player 9.0
สําหรับดูหนังฟังเพลง
- Quick Time
โปรแกรมเสริมสำหรับการดูหนังฟังเพลงจาก internet สามารถเล่น mp3 ได้
-XingMPEG
สามารถใช้เล่นไฟล์ตระกูล MPEG ทุกชนิด
-Real Player  
สําหรับดูถ่ายทอดสดทั้งวิทยุและวิดีโอแบบสตรีมมิง จาก real network

วิดีโอ (Video)

ชนิดของวิดีโอแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

- วิดีโออนาลอก (Analog Video)
- วิดีโอดิจิตอล (Digital Video)

วิดีโออนาลอก

เป็นวิดีโอที่ทําการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสั ญญาณอนาลอก (ในรูปของคลื่น) ได้แก่ VHS (Video Home System)

วิดีโอดิจิตอล

เป็นวิดีโอที่ทําการบนทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องวิดีโอดิจิตอล ให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิตอลคือ 0 กับ 1 ซึ่งทําให้สามารถบันทึกลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ

การนำวีดีโอไปใช้งาน

- ด้านบันเทิง (Video Entertainment)
- ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation)
- ด้านการสะสมเป็นที่ระลึก(Video Album)
- ด้านการศึกษา(Education Program)

มาตรฐานของภาพวิดีโอ

NTSC (National Television System Committee)

เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเลกทรอนิกส์ ที่กําหนดให้แสดงภาพด้วยเส้น ในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาทีมีสี 16 ล้านสี และอัตราการ รีเฟรช 60 Halt-frame ต่อวินาที (interlaced) ขณะที่จอคอมพิวเตอร์ จะใช้วิธีการที่ เรียกว่า Progressive-Scan ใช้ในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุน

PAL (Phase Alternate Line)

เป็นการสร้างภาพจากเส้นแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ด้วยอัตรา 25 เฟรมต่อวินาที และทําการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing แต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช 50 Halt-frame ต่อวินาทีใช้ในแถบยุโรป อังกฤษ ออสเตรเลีย อัฟริกาใต้ ิ และประเทศไทย

SECAM (Sequential Color and Memory)

จะแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพเป็น 819 เส้น ด้วยอัตราการ             รีเฟลช 25 เฟรมต่อวินาทีใช้ในประเทศฝรั่งเศส รัสเซีย ยุโรป ตะวันออกและตะวันออกกลาง

HDTV (High Definition Television)

เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพที่ถูกพัฒนาเพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงคือ 1280x720 พิกเซล  เป็นความละเอียดเช่นเดียวกับภาพในโรงภาพยนตร์ ซึ่งถูกพัฒนา ออกมาใช้ครั้งแรกในปี 1998


ขั้นตอนการผลิตภาพวิดีโอ

1. การวางแผน
2. การถ่ายทำ
3. การแคปเชอร์
4. การตัดต่อ
5. การจัดทำสื่อประสม

การบีบอัดวีดีโอ

• JPEG  
เป็นการย่อภาพสูงให้คงรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด ซึ่งเป็นการยุบพื้นที่ ขนาด 8x8พิกเซลให้เหลือเป็น 1 พิกเซล โดยเลือกสี ื ที่มีอยู่มากที่สุดเป็นสีสําหรับพิกเซิลนั้น อัตราการบีบอัด 25:1 40:1  จนถึง 100:1
• Motion-JPEG หรือ M-JPEG
บีบอัดได้ตั้งแต่ 12:1 5:1 และ 2:1 เป็นงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก
นิยมใช้ในการ์ดตัดต่อและการ์ดแคปเชอร์  
• CODEC  
เป็นการบีบอัดที่สามารถนำไปใช้กับซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการ บีบอีดแบบ MPEG, Indeo และ Cinepak
• MPEG(Moving Picture Experts Group)
เป็นการบีบอัดที่คลายกับแบบ JPEG แต่จะลดจำนวนข้อ อมูลที่ซ้ํากันของภาพต่อไป เป็นการบีบอัดแบบไม่สมมาตรคือขั้นตอนในการเข้ารหัสสัญญาณวีดีโอจะนานกว่าขั้นตอนการถอดรหัสข้อมูล
    - MPEG-1
ใช้สําหรับวีดีโอที่ดูตามบ้าน VHS อัตราการส่งผ่าน 1.5 Mbps ใช้ได้กับเครื่องเล่น
CD ทั่วไปภาพค่อนข้างหยาบสัญญาณสีแต่ละจุดไม่ ุ สามารถกำหนดเป็นสีได้ถูกต้อง
    - MPEG-2
ใช้ในตสาหกรรมภาพยนตร์ภาพจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และคํานวณผลเพื่อแทนค่า จุดสีต่าง ๆ GOP(Group Of Picture) มองภาพครั้งละ 8-24 ภาพลดข็อมูลที่ต้องเก็บ
    - MPEG-3
ใช้กับงานโทรทัศนที่มีความคมชัดสูง HDTV(High Definition Television)
ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ
    - MPEG-4
เป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับ Quick Time ใช้งานด้านมัลติมีเดยที่่มี bandwidth ต่ําสามารถรวมภาพ เสียงและสวนประกอบอื่น ๆ ถูกออกแบบให้มีความสามารถในเชิงโต้ตอบ กับวัตถุต่าง ๆ ในภาพได้

    - MPEG-7
เป็นตัวเชื่อมรายละเอียดเนื้อหามัลติมีเดียเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างมาตรฐานการอธิบาย ข้อมูลข่าวสารของมัลติมีเดียสนับสนุนความหมายของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
• Microsoft Video
บีบอัดได้อย่างรวดเร็ว แต่ความละเอียดต่ํา240x180 พิกเซล เหมาะกับภาพที่มี การเคลื่อนไหวมากๆ
• Microsoft RLE
ใช้อัตราส่วนในการบีบอัดตำ่ เหมาะกับภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีความชัดเจน แต่ไม่ เหมาะกับงานวีดีโอ
• DV format
เป็นการเข้ารหัสเพื่อบันทึกเป็นสัญญาณดิจิตอลโดยตรง ใช้มาตรฐาน Fire Wire
• DivX
พัฒนาจากระบบ CODEC สามารถลดข้อมูลเหลือเพียง 10-20% ของปริมาณ ข้อมูลเดิม
• Cinepak
พัฒนาโดย SuperMac Inc. สามารถส่งข้อมูลวีดีโอขนาด 24 บิตบนพื้นที่ ขนาด 1 ต่อ 4 ของจอภาพ 320x240 นิยมใช้รูปแบบของไฟล์เป็น .avi ใช้เวลาในการบีบอัด นาน
• Ideo
พัฒนาโดย Intel Corporation มีพื้นฐานมาจาก DVI การเข้ารหัสและถอดรหัส จะเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ในงาน  Video Conferencing

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอ

รูปแบบการบันทึกข้อมูล

• S-VHS (Super Video Home System)
มีความละเอียดสูงกว่า VHS แยกเก็บ 2 แทรกระหว่างข้อมูลสีและ ความสว่าง สามารถแพรภาพที่ความถี่ต่ําถ้าต้องการให้ภาพคมชัดต้องใช้เครื่ องเล่นS-VHS และดูกับโทรทัศน์ที่มีความละเอียดสูง
• YUV หรือ YUV 4:2:2
ผลิตโดย sony เป็น betacam คือสัญญาณวิดีโอพื้นฐาน
Y คือความสว่าง
U คือค่าสีแดงลบค่าความสว่าง
V คือค่าสีน้ําเงินลบค่าความสว่าง
ขนาดเล็กกว่า 3 เท่าก่อนเก็บต้องแปลง  YUV เป็น RGB ก่อน
• Component Digital
แปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลบันทึกข้อมูลเป็นบิตและไบต์ คุณภาพสีและภาพ มีความคมชัดใช้กับเนื้อเทปแม่เหล็กขนาด 19 มม. เป็นมาตรฐานของดิจิตอลวิดีโอ คุณภาพ ของวิดีโอวัดจากอัตราเฟรมและความละเอียด
• อัตราเฟรม(frame rate)
คืออัตราความถี่ในการแสดงภาพจาก Timeline ออกทางหน้าจอมีหน่วยเป็น เฟรมต่อวินาที (fps)
ภาพยนตร์ 24 fps
ระบบ PAL 25 fps
ระบบ NTSC 30 fps
• ความละเอียด (Resolution)
คือความคมชัดของภาพที่แสดงผลออกทางจอภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดทั้งหมดที่เกิดบนจอ (พิกเซล)

ซอฟต์แวร์สําหรับการเข้ารหัส


ที่มาจากเว๊บไซต์ : http://www2.cs.science.cmu.ac.th/person/samerkae/mulmedia/multi2_3.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น