วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555


โครงการออกแบบสื่อแอนิเมชั่นเพื่อเป็นสื่อเสริมความรู้ทางเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพกพา  (Teblet) สำหรับเด็กประถม เรื่อง “วัฏจักรของนำ้”

วิชา ARTI3322 การออกแบบภาพเคลื่อนไหว

โดย วีนัส อำ่สุ่น รหัส 5221307662

ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูล ส2. (Resume)

ในการดำเนินโครงการออกแบบสื่อแอนิเมชั่นเพื่อเป็นสื่อเสริมความรู้ทางเครื่อง  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพกพา (Teblet) สำหรับเด็กประถม เรื่อง “วัฏจักรของนำ้” จะใช้เทคนิคแอนิเมชั่นแบบ Stopmotion ประเภทงานกระดาษ (Paper animation) เพื่อให้ได้สื่อความรู้ที่มีความสวยงามน่าสนใจ โดยเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่ายเหมาะกับเด็กและ การใช้สีสันที่สวยงามใน การดำเนินเรื่อง

ประวัติความเป็นมาของ Stop Motion animation

Stop-motion เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 มันถูกสร้างโดยใส่การ เคลื่อนไหวเข้าไปในวัตถุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ลองมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา ของ Stop-motionในสมัยก่อน การทำ stop-motion ส่วนมากจะทำกับวัตถุที่เคลื่อน ไหวเองไม่ได้ ต้องทำการถ่ายรูปแล้วก็ขยับวัตถุทีละน้อยแล้วก็ถ่ายรูปซ้ำไปซ้ำมา พอได้ภาพ จำนวนหนึ่ง ก็จะนำมาเรียงต่อกันเพื่อทำเป็นหนัง stop-motion เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ The Humpty Dumpty Circus สร้างโดย Albert Smith กับ Stuart Blackton


ในปี 1899 Emile Cohlนักสร้างการตูนและผู้สร้างอนิเมชั่นชาวฝรั่งเศส เป็นคนนำ stop-motion เข้ามาสู่อเมริกา เขาใช้ ภาพวาด หุ่นจำลอง และอื่นๆที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เท่าที่เขาจะหาได้ สำหรับทำ stop-motion แล้วหนัง stop-motion เรื่องแรกของเขา ชื่อว่า Fantasmagorie เขาสร้างมันเสร็จในปี 1908 ใช้ภาพวาดทั้งหมด 700 ภาพแล้ว ถ่ายรูปขึ้นมาเพื่อนำมาทำเป็นอนิเมชั่น


Willis O’Brien เป็นผู้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับวงการภาพยนตร์ ภาพยนตร์ เรื่องแรกที่เขาร่วมสร้างคือ The Lost World ในปี 1925 ในภาพยนตร์มีบางช่วงที่เป็น stop-motion ซึ่งเขาเป็นคนทำมัน จากผลงานนี้ทำให้เขาได้ร่วมงานกับทีมสร้าง King Kong
ในทุกวันนี้ มีคนสร้าง stop-motion จากหุ่นจำลองต่างๆอยู่มากมาย และมีการทำโดยนำการเคลื่อนไหวของคนใส่เข้าไป หนึ่งในนั้นคือ Tim Burton, Henry Selick และ Nick Park

ตัวอย่างวิดีโอ : http://vimeo.com/user2975276/videos


ตัวอย่างงาน Stop Motion animation


ที่มา: http://www.lomography.co.th/magazine/lifestyle/2011/11/27/stop-motion-animation-chicken-run




ประเภทของStop Motion
1. ดินน้ำมัน clay animation
2. หุ่น Doll-Puppet animation
3. การเขียน-วาด Write animation
4. ชิ้นงาน Model animation
5. ทราย sand animation
6. งานกระดาษ Paper animation
7. Time Lapse
อุปกรณ์ที่ใช้ในงาน Stop Motion
1. ชิ้นงาน
2. กล้องถ่ายภาพ – วีดิทัศน์ ขาตั้งกล้อง
3. คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์
4. ฉาก
5. ไฟแสงสว่าง
6. แท่นยึด

ข้อคำนึงเรื่องระยะเวลาและระบบ

TV NTSC   = 30 frame/sec
      Film   = 24 frame/sec
   TV Pal   = 25 frame/sec
         720x576 pixel
5 Min = 25x60 x 5 =7500 Frame

ขั้นตอนของงานแอนิแมชั่นแบบสต๊อปโมชั่น

1. Pre-Production เตรียมงาน  เขียนสคริปต์ ปั้น
2. Production ถ่ายทำ  กำกับกล้อง ปั้น ขยับ
3. Post-Production   ตัดต่อ  import ตัด  พากย์เสียง
4. Presentation    นำเสนอ  แปลงไฟล์


ขั้นตอนการผลิตการ์ตูนเอนิเมชั่น

1. Idea  ความคิด
2. Script  รูปแบบ   (Theme  Concept)
- จับใจความสำคัญของเรีื่อง
- บอกมุมมองของภาพ
- เสียงประกอบ (Sound Effects)
- Characters Design
3. Story Board  เฟรมที่สำคัญ   (Key frame)
4. Detail  รายละเอียด
5. Specification ข้อกำหนด

การเขียนบท

1. Premise แนวคิดหลักของเรื่อง
2. Log-Line ขยายความ สั้น ได้ใจความ
3. Synopsis  เรื่องย่อ
4. Treatment  4W1H

การเขียนบท Hollywood

1. เปิดฉากต้อง ตรึงใจ ท้าทาย มีคำถามให้ค้นหา
2. แนะนำตัวละคร
3. เน้นความขัดแย้ง
4. หาจุดสำคัญของเรื่อง
5. จบประทับใจ

การสร้างตัวละคร

1. รู้จักตัวละครให้ดี อย่าสับสน
2. สร้างภาพ อย่าใช้เสียงบรรยาย
3. ให้คนดูคิดบ้าง อย่าบอกหมด
4. คนต่างกัน สื่อสารไม่เหมือนกัน
5. ถ้อยคำ ประจำ กินใจ
6. อย่าพูดซ้ำซาก วกวน ไม่ไปไหนซะที
7. พูดสั้นๆ เดินเรื่องไว

วัฏจักรของน้ำ หรือวัฏจักรของอุทกวิทยา (Hydrologiccycle)

พลังงานแสงอาทิตย์มีประโยชน์กับเรามากมายมหาศาล  ทั้งทางตรงและทางอ้อม  เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีวันหมด  เป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง  ด้วยเหตุ ที่ว่ามีส่วนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช  ทำให้พืชสามารถสร้างอาหารได้เอง และเราก็นำอาหารที่พืชสร้างนั้นมาบริโภคหรือใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกทีหนึ่ง  จึงอาจกล่าว ได้ว่าเราและสิ่งมีชีวิตอื่นได้รับประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในทางอ้อม  โดยผ่านการ บริโภคพืชที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้นั่นเอง  แต่ก็ยังมีอีกมากมายที่เราได้รับจากพลังงาน แสงอาทิตย์ในทางอ้อมเช่นเดียวกัน  

        กระบวนการอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ก็คือ  "วัฎจักรของน้ำ"  หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงสถานะ ของน้ำระหว่าง ของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ  ซึ่งน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับจาก สถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดภายในอาณาจักรของน้ำ  เช่น  การ เปลี่ยนแปลงระหว่างชั้นบรรยากาศ  น้ำพื้นผิวดิน  ผิวน้ำ  น้ำใต้ดินและพืช  

กระบวนการ เปลี่ยนแปลงนี้สามารถแยกได้เป็น 4  ขั้นตอน

           1. การระเหย  (evaporation)  หมายถึง การที่น้ำในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ฯลฯ   กลายเป็นไอเมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์
         2. การควบแน่น  (condensation)  หมายถึง การที่ไอน้ำในบรรยากาศเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวในรูปของเมฆเมื่อได้รับความเย็น
         3. การเกิดฝนตก  (precipitation)  หมายถึง ปรากฏการณ์ของการเกิดการรวมตัวของน้ำในอากาศ  เกิดเป็นฝนและหิมะตกสู่พื้นโลก ซึ่งส่วนใหญ่ตกลงสู่พื้นที่มหาสมุทร นอกจากนั้นตกลงมาในรูปของฝนและหิมะและบางส่วนก็ซึมลงดินและไหลลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ
         4. การรวมตัวของน้ำ  (collection)   หมายถึง การที่น้ำไหลรวมกันสู่แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเล หรือ มหาสมุทร ที่เป็นแหล่งอุปโภคและบริโภคของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต่อไป  
ภาพวัฎจักรของน้ำ  จาก  http://www.lesaproject.com/
          ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่โลกเริ่มเย็นตัวลง ไอน้ำที่แทรกซึมขึ้นมา จากเปลือกโลก ลอยตัวสูงขึ้น และเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ ฝนในยุคแรกๆตกลงมา ไม่ทัน ถึงพื้นก็ระเหยกลับเป็นไอน้ำไปหมด เนื่องจากพื้นโลกยังมีความร้อนสูงมาก จนกระทั่งโลก เย็นตัวลงอีก และเกิดฝนจำนวนมาก น้ำฝนละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาบนพื้นผิวโลก ทำให้ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง น้ำฝนที่ตกลงมาสู่พื้นไหลรวมตัวกัน ในบริเวณที่ต่ำ เกิดเป็นแม่น้ำลำคลองไหลไปรวมกันในแอ่งที่ราบต่ำ กลายเป็นทะเลและ มหาสมุทร ในช่วงเวลานั้นเริ่มเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  สิ่งมีชีวิตในยุคแรกอาศัยอยู่ ใต้ท้องมหาสมุทร ดำรงชีวิตด้วยพลังงานเคมี และความร้อนจากภูเขาไฟใต้ทะเล จนกระทั่ง 2,000 ล้านปีต่อมา  สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรวิวัฒนาการให้มีการสังเคราะห์แสง เช่น แพลงตอน และสาหร่าย  ดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำทะเล มาสร้างน้ำตาล  และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจนออกมา องค์ประกอบของบรรยากาศโลกจึงเปลี่ยนแปลงไป  ก๊าซออกซิเจนที่ทวีจำนวนมากขึ้น ลอยตัวสูง แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน ปกป้องไม่ให้ รังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์แผ่ลงมาถึงพื้นโลกได้ สิ่งมีชีวิตที่เคยอยู่ในมหาสมุทร  จึงขยายพันธุ์อพยพขึ้นบนบกได้

ภาพโลกอดีตจาก  http://www.lesaproject.com/

แหล่งน้ำบนโลก

          มหาสมุทร 97.2 %          
ทะเลสาบน้ำเค็ม 0.008 %          
ธารน้ำแข็ง 2.15 %
     ความชื้นของดิน 0.005 %
น้ำใต้ดิน 0.62 %                      
แม่น้ำ ลำธาร 0.00001 %
          ทะเลสาบน้ำจืด 0.009 %  
บรรยากาศ 0.001 %

ที่มา :http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=87


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น